กรรมวิธีการทอผ้า

  1. การทอลายขัดธรรมดา (Plain weave) คือ การทอโดยใช้ด้ายยืน 1 ชุด ด้ายพุ่ง 1 ชุด สอดขัดแบบขึ้นหนึ่งลงหนึ่ง ใช้ตะกอเพียง 2 ตะกอสืบด้ายยืนตะกอละเส้นสลับกัน เวลายกตะกอหรือสับตะกอ ด้ายยืนหมู่หนึ่งจะขึ้น อีกหมู่จะลง เปิดเป็นช่องให้ด้ายพุ่งสอดเข้าไปได้ เมื่อกระทบให้แน่นจะขัดกับด้ายยืนเป็นมุมฉาก แบ่งเป็น

                              – การทอแบบสมดุล (balanced plain weave

                              – การทอแบบไม่สมดุล (unbalanced plain weave) ได้แก่
                                             1) การทอให้เห็นด้ายยืนมากกว่าด้ายพุ่ง (warp faced) นิยมใช้ทอมัดหมี่ด้ายยืน และผ้าลายริ้วตามยาว เพื่อให้เห็นลายจากเส้นด้ายยืนชัดเจน
                                             2) การทอให้เห็นด้ายพุ่งมากกว่าด้ายยืน (weft faced) นิยมใช้ทอมัดหมี่ด้ายพุ่ง และผ้าลายริ้วตามขวาง เพื่อให้เห็นลายจากเส้นด้ายพุ่งชัดเจน

               2. การทอให้เกิดเส้นด้ายลอย (Float weave) โดยใช้ด้ายยืน 1 ชุด ด้ายพุ่ง 1 ชุด สอดขัดในลักษณะที่ทำให้เกิดด้ายลอยบนพื้นผ้า ได้แก่ การทอลายสอง(twill weave) การทอยกดอก(figured weave)


ที่มา: Conway (1992)

               3. การทอโดยใช้เส้นด้ายพุ่งหรือด้ายยืนเสริมพิเศษ ( Supplementary wefts or warps) คือการทอให้เกิดลวดลายโดยใช้เส้นด้ายพุ่งเสริมพิเศษ หรือด้ายยืนเสริมพิเศษทอ การใช้ด้ายพุ่งเสริมพิเศษแบบต่อเนื่อง (continuous supplementary wefts ) เช่น การทอผ้าขิต และแบบไม่ต่อเนื่อง(discontinuous supplementary wefts) เช่น การทอผ้าจก โครงสร้างการทอส่วนพื้นมักเป็นลายขัดธรรมดา ( plain weave) ถ้าดึงเส้นด้ายเสริมพิเศษ ( supplementary yarns ) ออก โครงสร้างหลักของผ้าจะไม่เสียหาย
                    – ตัวอย่างการทอโดยใช้ด้ายพุ่งเสริมพิเศษแบบต่อเนื่อง(continuous supplementary wefts) เช่น การทอขิต


ที่มา: Conway (1992)

                   – ตัวอย่างการทอโดยใช้ด้ายพุ่งเสริมพิเศษแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous supplementary wefts)เช่น การทอจก

                  – ตัวอย่างการทอโดยใช้ด้ายยืนเสริมพิเศษ( supplementary warps) เช่น การทอมุก

               4. การทอเกาะหรือล้วง ( Tapestry weave) มีโครงสร้างการทอลายขัดธรรมดา ( plain weave) แต่จะใช้ด้ายพุ่งสลับสีเป็นช่วงๆให้เกิดลวดลาย ด้ายพุ่งแต่ละช่วงจะเกี่ยวกันไว้ หรือพันรอบๆเส้นด้ายยืนริมสุดในแต่ละช่วงลาย ทางเหนือเรียกเทคนิคนี้ว่า “ทอเกาะ” หรือ “ทอล้วง”

               5. การทอมัดหมี่ (Ikat) เป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผ้าโดยการมัดเส้นด้ายพุ่งหรือเส้นด้ายยืน ให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางก่อนนำไปย้อมสี แล้วจึงนำไปทอเป็นผืนผ้า ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่ คือ รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามลวดลายที่ถูกมัด และการเลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้ายเมื่อถูกนำขึ้นกี่ในขณะทอ

ใส่ความเห็น