ผ้าไทยภาคอีสาน

ผ้าพื้นบ้านภาคอีสาน

                ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผ่าไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า  ลาว  เป็นกลุ่มชาติพันธ์ใหญ่สุดของภาคอีสาน  ภาคอีสานมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด  หรือประมาณ ๑๗๐๒๒๖ ตารางกิโลเมตร กลุ่มไท-ลาวเหล่านี้กรระจายอยู๋ทัวไปแทบทุกจังหวัด  และสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดเลย  นครราชสีมา และชัยภูมิ มีความใกล้ชิดกับหลวงพระบาง  กลุ่มชนในเขตจังหวัดหนองคาย  อุดรธานี ขอนแก่น มีความใกล้ชิดกับเวียงจันทน์  กลุ่มชนในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์  เป็นกลุ่มผู้ไทหรือภูไท  กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และมหาสารคาม  โน้มเอียงไปทางจำปาสัก  กลุ่มชนในบริเวณภาคอีสานมิได้มีเฉพาะคนไท-ลาวเท่านั้น ยังมีกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ อีกเช่น ข่า กระโส้ กะเลิง ส่วย และเขมร โดยเฉพาะเขมรและส่วยซึ่งกระจายกันอยู่ในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์

(กลุ่มไทย-ลาว)

                การตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคอีสานของกลุ่มชนเผ่าไทเชื้อสายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มไท-ลาว เป็นกลุ่มชนที่มีก่รผลิตผ้าพื้นบ้านของอีสานแพร่หลายที่สุด แต่ยังแยกเป็นกลุ่มย่อยตามวัฒนธรรมได้อีกหลายกลุ่ม เช่น ลาวกาว ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวคั่ง กลุ่มชนเหล่านี้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่วัฒนธรรมการทอผ้าและการใช้ผ้าอาจแตกต่างกันบ้าง กลุ่มชนเหล่านี้มีชาติพันธ์เดียวกันและมีถิ่นกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง  ตั้งแต่เขตเมืองสิงห์ทางตอนใต้ของแคว้นสิบสองปันนาในสาธารณรัฐประชาชนจีน  ลงมาจนถึงแคว้นสิบสองจุไทหรือเดียนเบียนฟูในประเทศเวียดนาม  ครอบคลุมลงมาถึบริเวณแคว้นตรันนินท์ของญวน  ชนกลุ่มนี้ได้ร่วมก่อสร้างเมืองขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ มาช้านานแล้ว เมื่อพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์ในทำนองที่มีความสัมพันธ์กับตำนานแล้วจะเห็นว่า   แหล่งกำเนิดของคนที่ต่อมากลายเป็นคนไท ลาว ญวน และฮ่อนั้นมาจากบริเวณกลุ่มแม่น้ำดำ  แคว้นสิบสองจุไท  แล้วกระจายไปยังลุ่มน้ำต่างๆ กลุ่มหนึ่งมาทางลุ่มแม่น้ำโขงทางด้านตะวันตกและทางด้านใต้คือพวกไท-ลาว  และได้สร้างอาณาจักรล้านช้างขึ้นที่หลวงพระบาง  มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งร่วมสมัยกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงสุโขทัย  พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง  ตีได้เมืองเวียงจันทน์  เวียงคำ  เมืองโคตรบอง  และบางส่วนของลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสาน  ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้มถูกปลดออกจากราชสมบัติและหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองน่าน  โอรสชื่อเท้าอุ่นเรือนได้ครองราชย์แทนทรงพระนามว่า  พรเจ้าสามแสนไท  ต่อมาเป็นกษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่ง  พงศาวดารล้านช้างระบุว่าพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกรุงศรีอยุธยาและเชียงใหม่  สมัยพระเจ้าสามแสนไทตรงกับรัชกาลสมเด็จะรเจ้าบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว พ.ศ. ๑๙๑๓ – ๑๙๓๑) รัชกาลของพระเจ้าสามแสนไทเป็นช่วงเวลาที่ลาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสาน  มีทั้งที่ตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่และพวกที่อยู่ปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม

                อาณาจักรล้านช้างมีกษัตริย์วสืบต่อมาทั้งที่สร้างความเจริญให้บ้านเมืองและบางครั้งก็ทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนเกิดความแตกแยกออกเป็นกลุ่มเป็นแคว้น  จนถึงสมัยกรุวธนบุรี  ลาวได้แตกแยกออกเป็นแคว้นต่างๆ ๓ แคว้น  คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก  ต่างฝ่ายต่างแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก  เช่น สยาม ญวน ทำให้ลาวอ่อนแอ จนในที่สุดทั้งสามแคว้นก็ตกเป็นเมืองขึ้นของสยามทั้งหมด

(ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จ.พิษณุโลก)

                ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ของลาวเกิดความขัดแย้งแตกแยกกัน  ทำให้ลาวบางกลุ่มหนีเข้ามาลี้ภัยในบริเวณภาคอีสานสยามให้การสนับสนุนเพราะถือว่าลาวเป็นประเทศราช  จีงส่งเสริมให้มีการตั้งชุมชนเป็นหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นเพื่อขยายประเทศ  อันมีผลต่อการเก็บส่วยและเกณฑ์คนเข้ามารับราชการและใช้แรงงาน  เป็นเหตุให้เกิดเมืองต่าง ๆ ขึ้นในภาคอีสาน  แต่ภายหลังชาวลาวที่เข้ามาอยู่ในภาคอีสานเกิดความขัดแย้งกับเจ้าอนุวงศ์จนเป็นสงครามลุกลามถึงกรุงเทพฯ เกิดเป็นสงครามระหว่างสยามกับลาว  สุดท้ายลาวฝ่ายเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้  เจ้าอนุวงศ์และครอบครัวถูฏจับเป็นเชลยมายังกรุงเทพฯ  สงครามครั้งนั้นส่งผลให้ประชาชนหลายเผ่าพันธ์ต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัย  บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ในเขตญวน  บางกลุ่มโยกย้ายเข้ามาในเขตไท  และบางพวกถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในบริเวณภาคกลาง  เช่น บริเวณจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี กำแพงเพชร ปราจีนบุรี  ฉะเทริงเทรา และนครนายก  จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า  ชาวลาวได้เข้าสู่ดินแดนไทย ๒ ลักษณะ คือ พวกแรกอพยพเข้ามาลี้ภัยตั้งบ้านเมือง  ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในบริเวณภาคอีสาน กลุ่มที่สองถูกกวาดต้อนเข้ามาระหว่างสงคราม  ส่วนมากจะถูกนำมาภาคกลาง  แล้วกระจายกันไปตั้งถิ่นฐานในหลายจังหวัดของภาคกลาง

                รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงจัดการปกครองหัวเมืองภาคตะวันออกเป็นหัวเมืองประเทศราช  ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม นครจำปาสัก ให้เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองเขมรป่าดง  และเมืองที่ไม่ขึ้นกับประเทศราชทั้งสาม  โดยอนุโลมให้หัวเมืองประเทศราชปกครองกันเองตามธรรมเนียมราชการเดิม  ไม่เข้าไปทำกิจกรรมภายใน  เพียงให้ส่งเครื่องราชบรรณการตามที่กำหนดเท่านั้น  ลักษณะเช่นนี้ปฏิบัติกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๓ ชุมชนลาวที่เข้ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ในภาคอีสานนั้นยังคงรับวัฒนธรรมจากล้านช้างเรื่อยมา  เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ เอื้ออำนวยให้ติดต่อใกล้ชิดกันได้สะดวกมากกว่า  เนื่องจากมีเพียงแม่น้ำโขงกั้นเท่านั้น  ประกอบกับอำนาจทางการเมืองของกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ยังไปไม่ถึงดินแดนภาคอีสาน  จึงทำให้ผู้คนแถบล้านช้างที่เข้ามาอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในภาคอีสานของสยามในสมัยนั้น  ไม่ค่อยมีความรู้สึกผูกพันธ์กัยราชสำนักมากนักจนราชสำนักกรุงเทพฯ ต้องจัดส่งข้าหลวงใหญ่ไปปกครองโดยตรงที่เมืองอุบลราชธานีในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เพราะราษฎรในแถบนั้นไม่ยอมรเสียส่วยให้กับทางราชการ โดยอ้างว่าไม่ใช่คนไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีอำนาจปกครองเหนือดินแดนอีสานในระยะนั้นมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ไม่สนใจเรื่องการผลิตฝ้ายและไหมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่การผลิตฝ้ายและไหมในภาคอีสานรับวัฒนธรรมจากล้านช้างซึ่งทำใช้กันเอง ส่วนราชสำนักสั่งซื้อผ้าจากต่างประเทศมาใช้

                ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาด้วยเหตุผลทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ กระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงมหาดไทยก็ยังไม่ทราบว่ามีแหล่งเลี้ยงไหมอยู่ในภาคอีสานเป็นเวลานานแล้ว เพราะจากรายงานการตรวจการมณฑลนครราชสีมาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๘๖) ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พบแต่เพียงว่าสินค้าส่งออกของท้องถิ่นภาคอีสานมีแต่พวกของป่าในท้องถิ่นเท่านั้น ไม่มีสินค้าพวกผ้าไหม ไหมดิบ และไหมอื่นๆ เลย

                ต่อมาเมื่อประเทศไทยยอมรับคำแนะนำของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตโดยถือระบบการค้าไหมดิบของญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างแล้ว จึงได้ส่งผู้เชี่ยวชาญคือ คาเมทาโร โตยามา (Kametaro Toyama) เข้ามาสำรวจการเลี้ยงและผลิตไหมในภาคอีสานที่นครราชสีมา ในปีพ.ศ. ๒๔๔๔ ฝ่ายราชการของไทยคือกระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องรอคอยรายงานการสำรวจของโตยามา เพราะไม่รู้ว่ามีการลุ้นยงและผลิตไหมในภาคอีสานมาก่อนดังกล่าวแล้ว จนเมื่อได้รับรายงานแล้วจึงรู้ว่าเกือบทุกหมู่บ้านของภาคอีสานมีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายด้วยวิธีมัดหมี่ ขิด จก ฯลฯ อยู่ก่อนแล้ว

(ชาวผู้ไท หรือ ภูไท)

                นอกจากกลุ่มชนเชื้อสายลาวซึงมีวัฒนธรรมการทอผ้าเป็นกลุ่มชนใหญ่ที่มีเอกลักษณ์ กรรมวิธี และรูปแบบของผ้าเป็นของตนเองแล้ว ยังมีกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าปรากฏมาจปัจจุบันอีกสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้ไทและกลุ่มชนเชื้อสายเขมร กลุ่มผู้ไท ทั้งผู้ไทดำ ผู้ไทขาว และผู้ไทแดงเคยอยู่ในดินแดนล้านช้างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้วยกัน ก่อนอพยพเข้าสู่ภาคอีสานในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นชนกลุ่มน้อยในภาคอีสานที่มีลักษณะพิเศษคือ  ชอบอยู่เป็นกลุ่มอย่างโดดเดี่ยวเป็นอิสระในกลุ่มเผ่าพันธ์ของตนเอง  แต่เมื่ออยู่ร่วมกันมาก่อนเป็นเวลานาน  จึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรรม  ประเพณี และความเชื่อบางอย่างกับพวกกลุ่มลาวอยู่ไม่น้อย  เมื่อเข้ามาอยู่ในภาคอีสานแล้วก็มีการอพยพเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายกันอยู่ตามที่ราบเชิงเขา และบนเขาในเขตจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธิ์  ชนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมในการทอผ้าที่ค่อนข้างเด่นทั้งด้านสีสันและเทคนิควิธีการทอ

                กลุ่มเขมรหรือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรเป็นชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งตั้งถิ่นฐานที่กระจายอยู่ทางแถบจังหวัดสุรินทร์  ศรีษะเกษ และบุรีรัมย์ หรืออีสานใต้ ชนกลุ่มนี้อพยพมาจากประเทศเขมรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ไล่เลี่ยกันกับพวกส่วย (กวยหรือกุย) ปัจจุบันหลายหมู่บ้านมีทั้งลาว เขมร และส่วยอยู่ร่วมกัน แต่ละกลุ่มมีการทอผ้าที่เป็นลักษณะพิเศษเป็นของงตนเอง

                โดยทั่วไปชาวอีสานมีสังคมแบบเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา  ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่เพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวประมาณ ๗-๙ เดือน ในแต่ละปีตลอดฤดูฝนและฤดูหนาว ส่วนเวลาในช่วงฤดูร้อนประมาณ ๓ – ๕ เดือนที่ว่าง  ชาวอีสานจะทำงานทุกอย่างเพื่อเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการทำบุญประเพณีและการพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสต่าง ๆ เป็นวงจรของการดำรงชีพที่หมุนเวียนเช่นนี้ในแต่ละปี

(การสาวไหม)

                “ยามว่างจากงานในนา  ผ็หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน ” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นสภาพการดำรงชีวิตและสังคมของชาวอีสาน  ดังนั้นการทอผ้าจึงเป็นงานสำคัญของผู้หญิง  ผ้าที่ทอจะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม  ได้แก่ เสื้อ ซิ่น (ผ้านุ่ง) ซ่ง (กางเกง) โสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ เครื่องนอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม และเครื่องใช้ที่จะถวายพระในงานบุญประเพณีต่าง ๆ เช่น ที่นอน หมอน ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้าพระเวสส์

                กระบวนการทอผ้าเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงไหม  ปลูกหม่อน ปลูกฝ้ายสำหรับทอผ้า เริ่มลงมือทอผ้า  ซึ่งมีประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ลงข่วง

(ผ้ามัดหมี่ไทลาว)

                การทอผ้าที่สำคัญของชาวอีสาน คือ การทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในครัวเรือน  ผ้าซิ่นของกลุ่มไท-ลาวนิยมใช้ลายขนานกับลำตัวต่างกับซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางลำตัวและนุ่งยาวกรอมเท้า  ชาวไท-ลาวอีสานนิยมนุ่งสูงระดับเข่าหรือเหนือเข่า  การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่น ถ้าเป็นซิ่นไหมจะต่อตีนซิ่นด้วยไหม  แต่ถ้าเป็นซ่นฝ้ายก็จะต่อด้วยฝ้าย  ตีนซิ่นจะมีขนาดแคบ ๆ ไม่นิยมเชิงใหญ่  หัวซิ่นนิยมต่อด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอขิดเป็นลายโบกคว่ำและโบกหงาย  ใช้สีขาวหรือสีแดงเป็นพื้น  ใช้ได้ทั้งกับผ้าซิ่นไหมหรือซิ่นฝ้าย  การต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ  เวลานุ่งตะเข็บหนึ่งอยู่ข้างหลังสะโพก  ต่างกับการนุ่งซุ่นของชาวล้านนาหรือชาวไทยญวนที่นิยมนุ่งผ้าลายขวางที่มีสองตะเข็บ   เวลานุ่งจึงมีตะเข็บหนี่งอยู่ข้างหลังสะโพก  ไม่เหมือนกับซิ่นของชาวลาวซึ่งซ่อนตะเข็บไว้ด้านหน้าจนไม่เห็นตะเข็บ  สิ่งเหล่านี้เป็นค่านิยมที่เป็นประเพณีต่อกันมาแต่อดีต

(ผ้าห่อคัมภีร์)

                นอกจากการทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้ว  ยังทอตามความเชื่อถือ ศรัทธาพุทธศาสนาด้วย เช่น การทอผ้าสำหรับทำหมอนถวายพระ ผ้าพระเวสส์ ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน  ธงหรือทุง (มักออกเสียง ซุง) ถวายพระในงานบุญตามประเพณี  ความเชื่อ ศาสนาของชาวอีสานที่สืบต่อกันมช้านาน

                ผ้าทอพื้นบ้านอีสานที่รู้จักกันดีและทำกันมาแต่โบราณนันมี ๒ ชนิด คือ ผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้ายและไหม  แต่ภายหลังมีการนำเส้นใยสังเคาะห์ประเภทด้ายและไหมโทเรมาผสม  ซึ่งเป็นการทอลักษณะหัตถอุตสาหกรรมการทอผ้าพื้นบ้านแต่เดิมชาวบ้านจะทำเองทุกขั้นตอน  ตั้งแต่ปลูกฝ้ายและปลูกต้นหม่อนเพื่อเอาใบมาเลี้ยงตัวไหม  นำรังไหมมาสาวให้เป็นเส้น  จนกระทั้งฝอกและย้อมสี 

(โฮงหมี่)

จากนั้นจึงนำไปทอด้วยเครื่องทอแบบพื้นบ้านทีเรียกว่า  โฮ่งหูก  หรือ โฮ่งกี่  ส่วนราชการใช้เส้นใยสังเคาะห์ทุกชนิดจะใช้วิธีซื้อตามท้องตลาดโดยไม่ต้องฟอกและย้อมตามกรรมวิธีพื้นบ้าน

(ผ้ามัดหมี่บ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ)

                ผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอีสานไท-ลาว ผู้ไท เขมร ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าจก และผ้าพื้น

(ผ้าไหมมัดหมี่)

                ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าที่ทอให้เกิดลวดลายด้วยการมัดย้อม  การมัดหมี่กรือมักย้อมจะยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของลวดลายและสีที่ต้องการ ถ้าทำลวดลายสลับซับซ้อนก็ต้องมัดถี่และมัดมากขึ้น ถ้าต้องการหลายสีจะต้องมัดแล้วย้อมหลายครั้งตามตำแหน่งสีของลาย  ผู้มัดจึงต้องเข้าใจและมีความสำชำนาญทั้งในด้านรูปแบบของลวดลายและหลักวิธีการผสมสี จึงจะได้ผ้าที่สวยงาม

                นอกจากนี้การทอต้องทอให้เส้นเครือ  (เส้นยืน) และเส้นพุ่งที่มัดย้อมแล้วประสานตรงกันทุกเส้นตามจังหวะที่มัดย้อมไว้แต่ละลาย  ไม่เช่นนั้นก็จะไม่เกิดเป็นลายตามที่กำหนดไว้  ทุกครั้งที่ทอเส้นพุ่งและเส้นต้องขยับเส้นไหมให้ถูกจังหวะลายกับเส้นเครือทุกเส้นไป  ฉะนั้นการทอผ้ามัดหมี่จึงมีขีดจำกัดที่ต้องทอด้วยหูกหรือกี่ที่ทอด้วยวิธีใช้เส้นพุ่งเท่านั้น  จะทอด้วยกี่กระตุกไม่ได้ กลุ่ม ไท-ลาว และเขมรในภาคอีสานมีความสามารถในการทอผ้ามัดหมี่ทั้งสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอชนบท  จังหวัดขอนแก่นและบริเวณอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ มีการทอผ้ามัดหมี่กันอย่างแพร่หลาย

                ชาวไทยเชื้อสายเขมรนิยมทอผ้าไหมมัดหมี่เช่นเดียวกัน  แต่มีการมัดที่มีลักษณะพิเศษเป็นของตัวเอง  และเรียกชื่อต่างไป เช่น ผ้าปูม ผ้าเชียม (ลุยเชียม)  ผ้าอัมปรม ผ้าโฮล นิยมใช้กันในหมู่คนสูงอายุในเขตจังหวัดสุรินทร์นั้นมีคุณภาพดี  นอกจากผ้ามัดหมี่แล้วยังมี ที่มีสีเลื่อมระยับงดงาม  ด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควบกัน

(ผ้าปูม)

(ผ้าโฮลเปราะฮ์)

(ผ้าหางกระรอก)

                ผ้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมทอกันในภาคอีสานคือ ผ้าขิด เป็นผ้าที่สร้างลวดลายโดยใช้แผ่นแบนบางปาดโค้งให้ปลายแหลมด้านหนี่งสะกิดเส้นเครือ  เพื่อเก็บยขึ้นตามรู ลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถวแต่ละลาย  เมื่อเก็บยกได้ตลอดเส้นเครือแล้วยกไม้เก็บตั้งขึ้นเพื่อพุ่งกระสวยเส้นพุ่งเส้นหนี่ง  ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ลายแต่ละแถวจนหมดเส้นเครือ  ต้องใช้เวลาและความอดทนมากเช่นเดียวกันกับการทอผ้ามัดหมี่  เพียแต่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่า เพราะการทอขิดใช้เขา (ตะกอ) เท่านั้น

                จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บยกเส้นเครือ  โดยการนับเส้นเครือแล้วเก็บยกตามลักษณะลวดลายนี้เอง  จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า  เก็บขิด มากกว่า ทอขิด ซึ่งก็มีเรียกกันอยู่บ้าง  แต่เป็นที่รู้จักกันว่าการเก็บขิดคือการเก็บลวดลาย  ส่วนการทอนันป็นขันตอนที่เมื่อพุ่งเส้นพุ่งแล้วจะกระแทกให้เนื้อผ้าแน่น

                ภายหลังการเก็บขิดหรือการทอผ้าขิดได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงในด้านวิธีการที่ทำให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น  โดยวิธีใช้ไม้เก็บเหมือนเดิมแล้วใช้ไม้ไผ่เส้นเล็กๆ สอดไว้แทนไม้เก็บจนเต็มลายไม้ที่ต้องการ  เป็นการเก็บขิดแบบถาวร  คือเก็บลายชุดเดียวแล้วสามารถทอลายเดียวกันได้ทั้งหมด  สอดเส้นเครือโดยใช้  เขา  ที่สืบเส้นเครือโยงไว้กับคานบนของโฮงกี่แล้วผูกเชือกรั้งส่วนล่างของเขา  เพื่อเหยียบให้เขาเคลื่อนขึ้นลงตามไม้เก็บที่เก็บไว้เป็นชุด  ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้สามารถประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า

                การใช้ลายขิดมีประเพณีนิยมสืบทอดกันมาเพื่อใช้ลายให้เหมาะสมกับการใช้ผ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น ลายขิดสำหรับทำหมอน จะไม่นำไปทำอย่างอื่น  ลายขิดตีนซิ่นจะไม่นำมาทอเป็นหัวซิ่น  ขิดหัวซิ่นที่นิยมเป็นลายดอกสี่เหลี่ยม  กลุ่มชนที่นิยมทอผ้าขิดและมีรูปแบบลวดลายสีสันเด่นชัดและหลากหลาย คือ กลุ่มไท-ลาว ซึ่งมีทอกันอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดมหาสารคาม  ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยภูมิ เป็นต้น

                การทอผ้าให้มีลวดลายในภาคอีสานอีกประเภทหนึ่ง คือ ทอจก มีทั้งที่ทอด้วยไหมและฝ้าย นิยมทอด้วยโฮงหูกหรือโฮงกี่ เช่นเดียวกับการทอผ้าชนิดอื่น แต่ใช้ขนเม่นจกลวดลาย

                กลุ่มผู้ไทในภาคอีสานมีความสามารถทอจกได้อย่างวิจิตรงดงาม ผ้าจกภูไทที่รู้จักกันดี คือ ผ้าแพรวาหรือผ้าแพวา

(ผ้าแพวา หรือ แพรวา)

(ผ้าแพมน)

                แพวา ผ้าชนิดหนึ่งใช้ห่มเฉียงไหล่ คลุมไหล่ คล้ายผ้าสไบ ผู้หญิงชาวผู้ไทใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น เทศกาลงานบุญประเพณีหรืองานพิธีสำคัญ  ชาวผู้ไทนิยมทอคู่กันกับผ้าแพรมนหรือผ้าแพมน  ซึ่งเป็นผ้าที่มีขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  ผ้าแพมนนิยมทอด้วยวิธีจกเช่นเดียวกับแพวา  และใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าทั่ว ๆ ไป บางท้องถิ่นใช้เป็นผ้าคลุมศรีษะนาคก่อนอุปสมบท

                ลายผ้าพื้นบ้านอีสานได้รับความบันดาลใจมาจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวแบ่งเป็น ๔ กลุ่มได้แก่

                ลายที่ได้มาจากรูปร่างของสัตว์  ลายจากพืช ลายที่มาจากสิ่งประดิษฐ์และลายเบ็ดเตล็ด ลวดลายเหล่านี้นอกจากจะปรากฏในผ้ามัดหมี่ ผ้าจก และผ้าขิดแล้ว ยังใช้ตกแต่งผ้าพื้นที่ต้องการความงดงามเป็นพิเศษด้วย

                สมัยโบราณ ชาวบ้านจะทอผ้าพื้นบ้านอีสานไว้ใช้ในครอบครัว เช่น ทอเอาไว้ตัดเสื้อ ซิ่น กางเกง สำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยจะทอเก็บไว้ใช้ให้ได้ตลอดปี และทอกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ส่วนผู้ชายต้องตีเหล็ก ทำเครื่องจักสาน และทำเครื่องมือประกอบอาชีพอื่นๆ การทอผ้านั้น หากปีใดทอได้มากเหลือใช้ จะนำไปถวายพระสำหรับทำเป็นผ้าห่อคัมภีร์หรือผ้าห่อหนังสือผูกใบลาน ธง ผ้าพระเวสส์ เป็นต้น

22 ความเห็น (+add yours?)

  1. เกษร พิมพ์เสริฐ
    ก.ย. 26, 2011 @ 05:40:20

    ชอบม๊าก มากค่ะสวยมาก

    ตอบกลับ

  2. Satawat
    ธ.ค. 14, 2011 @ 05:10:58

    ขอบคุณสำหรับ สิ่งดีๆที่นำมาแบ่งปันครับ ^^

    ตอบกลับ

  3. กุลวดี
    ม.ค. 13, 2012 @ 14:27:41

    ชอบมากคะ ผ้าสวยมาก ผ้าบางชนิด ไม่เคยได้ยินชื่อและยังไม่รู้จักเลยคะ

    ขออนุญาต ใช้ข้อมูลทำรายงานและเป็นเว็บไซต์อ้างอิงนะค่ะ ขอบคุณคะ

    ตอบกลับ

  4. 5
    ก.พ. 14, 2012 @ 12:01:27

    thanks

    ตอบกลับ

  5. amarin
    เม.ย. 08, 2012 @ 08:27:03

    ขอใช้ข้อมูลทำรายงานนะคะ

    ตอบกลับ

  6. i-san silk
    เม.ย. 13, 2012 @ 08:42:15

    ผมขอแนะนำว่า ชาวอีสานในชีวิตประจำวันแล้วไม่นิยมนุ่งซิ่นสั้นเหนือเข่า ปกติจะยาวตั้งแต่ครึ่งแข้งลงไป หากยิ่งเวลานุ่งซิ่นไปวัดก็จะนิยมนุ่งให้ยาวกรอมเท้าเพื่อความสุภาพ (คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นคนเฒ่าคนแก่ใส่ซิ่นสั้นเป็นมินิสเกิร์ตเข้าวัด)
    ที่เห็นว่านุ่งสั้นก็เฉพาะเวลาแสดงฟ้อนรำในจังหวะเพลงเร็วๆเท่านั้นครับ ส่วนการฟ้อนรำที่จังหวะช้าก็จะนุ่งซิ่นยาว เป็นการปรับการแต่งกายให้เหมาะสมตามรูปแบบการแสดงครับ

    ตอบกลับ

  7. แวว
    พ.ค. 02, 2012 @ 08:00:01

    ตัวอย่างของจริงอย่างในรูปภาพ จะหาดูได้ที่ไหนคะ หมายถึงทั้ง ๔ ภาคเลยค่ะและจะขออนุญาตนำมาใช้เป็นสื่อการสอนได้หรือเปล่า อยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จักผ้าไทยและช่วยกันอนุรักษ์ผ้าไทยทุกภาคไว้ค่ะ. ขอบคุณล่วงหน้า

    ตอบกลับ

    • thaiunique
      พ.ค. 02, 2012 @ 09:03:08

      แนะนำนะคะว่าลองไปศึกษาที่ศูนย์ศิลปาชีพ เพราะตอนที่ทางทีมงานศึกษาค้นคว้าอยู่ก็ได้ไปที่ศุูนย์ศิลปาชีพฯ บางไทรค่ะ ได้เห็นวิธีการทอ เครื่องไม้เครื่องมือแบบต่างๆ ผ้าหลากหลายชนิดทั้งเก่าทั้งใหม่ แล้วก็มีวิทยากรให้คำปรึกษา แต่เรื่องตัวอย่างผ้าจริงถ้าจะเอาไปเป็นสื่อการสอนต้องสอบถามกันอีกทีค่ะ ดิฉันไม่แน่เรื่องนี้เหมือนกัน เพราะผ้าแต่ละผืนนั้นมีค่าไม่ใช่ย่อมเลย ยินดีนะคะที่ได้ร่วมอุดมการณ์ร่วมอนุรักษ์ผ้าไทยค่ะ

      ตอบกลับ

  8. เฟิร์น
    มิ.ย. 25, 2012 @ 13:54:57

    สวยมาก
    ก็ดีนะค่ะ

    ตอบกลับ

  9. GANT
    ก.ค. 24, 2012 @ 04:04:17

    ขอบคุณมากนะคะ กำลังหาเนื้อหาไว้อ่านสอบพอดีเลย 🙂 555+

    ตอบกลับ

  10. นายเพลิงโหด
    ต.ค. 16, 2012 @ 02:17:54

    สวยงามมากมูมังอิสาน

    ตอบกลับ

  11. nattanan
    ต.ค. 27, 2012 @ 10:16:07

    สวยจัง คงทำยากมากเลยนะ ><

    ตอบกลับ

  12. manunpuynun
    ธ.ค. 04, 2012 @ 05:56:23

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะค่ะ ผ้าพื้นบ้านไทยสวยงามมากๆ ๆ

    ตอบกลับ

  13. manunpuynun
    ธ.ค. 04, 2012 @ 05:59:23

    ขอนำข้อมูลไปเผยแพร่น่ะคะ เพราะกำลังทำบล็อกความรู้ส่งอาจารย์ เรื่องผ้าพื้นบ้านไทยค่ะ

    ตอบกลับ

  14. panida
    พ.ค. 06, 2013 @ 04:55:00

    ยืมรูปยายสาวไหมไปวดแน่เด้อ

    ตอบกลับ

  15. Trackback: สวยจากภายใน | hellomyway
  16. SAKURA gaming
    ก.ย. 26, 2016 @ 11:44:56

    ข้อมูลละเอียดมากค่ะขอนำไปทำรายงานนะคะ

    ตอบกลับ

  17. Chor
    ส.ค. 07, 2017 @ 22:12:18

    ขอนำข้อมูลไปเผยแพร่น่ะคะ เพราะกำลังทำบล็อกความรู้ส่งอาจารย์เรื่องนี

    ตอบกลับ

  18. Looknum Anangkayanee
    ธ.ค. 25, 2017 @ 11:15:51

    ขออนุญาตนำข้อมูลไปทำโครงงานนะค่ะ

    ตอบกลับ

ใส่ความเห็น