โครงการสัมมนา (ฉบับปรับปรุง)

 

ชื่อโครงการ
                แปลงโฉมผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นทันสมัยระดับโลก

หลักการและเหตุผล

          ตามที่วิชาสัมมนาทิศทางและแนวโน้มทางสารสนเทศศาสตร์  มีความประสงค์ให้นิสิตมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดสัมมนา  จัดประชุม อภิปรายในหัวข้อต่างๆ โดยให้นิสิตจัดทำข้อมูลสารสนเทศลงในเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น ปรับปรุงรูปแบบและข้อมูลให้ครบถ้วน ทันสมัย  พร้อมกับให้นิสิตจัดทำสารสนเทศให้อยู่ในรูปแบบคลังคำ เพื่อสะดวกในการค้นหา

                โครงการสัมมนาแปลงโฉมผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นทันสมัยระดับโลก จึงเป็นโครงการพัฒนาให้นิสิตมีความรู้  ประสบการณ์ และทักษะการจัดสัมมนา  เพื่อให้นิสิตนำทักษะนี้ไปใช้ในสังคมแห่งการทำงาน เป็นประสบการณ์ก่อนปฏิบัติจริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น


วัตถุประสงค์
                1.  เพื่อให้นิสิตมีความรู้และประสบการณ์การจัดงานสัมมนา
                2.  เพื่อให้นิสิตสามารถจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่
                3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผ้าไทยและอัญมณีไทย
เป้าหมาย
         
1.  นิสิตสามารถจัดงานสัมมนาและเป็นผู้นำสัมมนาได้
                2.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา
         
วิธีดำเนินการ
         
1.  บรรยาย
                2.  อภิปราย
         
3.  สาธิต

ผู้รับผิดชอบโครงการ
                น.ส. มลฤดี  สินสุพรรณ  
                น.ส. สิริพร  ยอดทอง
                น.ส. สุริวัสสา กล่อมเดช
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
               
1.  นิสิตสามารถจัดสัมมนาในหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้
               
2.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานหัตถกรรมไทย
               
3.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบข้อมูลการประยุกต์ผ้าไทยให้ทันสมัย
         
4.  สร้างจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาอนุรักษ์และสืบสานงานหัตถกรรมไทย

การจัดเตรียมงานสัมมนา

                1.  เนื้อหา
                –  วิวัฒนาการผ้าไทยสี่ภาค
                –  องค์อุปถัมภ์และหน่วยงานส่งเสริมผ้าไทย
                                สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

                                พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณวรีนารีรัตน์
                                ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

                –  แปลงผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นระดับโลก
                                แบรนด์ผ้าไทยในประเทศและต่างประเทศ
                                ช่างดีไซน์
                                หน่วยงานจัดแฟชั่นโชว์  >> หนังสือแฟชั่น แฟชั่นทีวี  นางแบบ 
                                การจัดแฟชั่นโชว์ผ้าไทยในต่างประเทศยากง่ายอย่างไร
                2.  วิทยากร
                อ. คณะศิลปกรรม
                อ.จากศิลปาชีพบางไทร
                3.  อุปกรณ์
                –  คอมพิวเตอร์
                –  จอโปรเจคเตอร์
                –  ตัวอย่างผ้าไทย
                –  อุปกรณ์ทอผ้า
                4.  การเชิญเข้าร่วมสัมมนา 
                การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้แก่  โปสเตอร์  Facebook  MSN

                5.  การประเมินผล
                –  ตอบคำถาม
                –  แสดงความคิดเห็น

วิวัฒนาการของการทอผ้าในประเทศไทย

                วิวัฒนาการของการทอผ้าในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดสามารถนำมาใช้อธิบายเรื่องจุดกำเนิดของการทอผ้าในประเทศไทยก็ตาม แต่อาจกล่าวได้ว่า การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ในสมัยโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้รู้จักทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเช่นที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี อายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว มีรูปมนุษย์โบราณกับสัตว์เลี้ยง เช่น ควายและสุนัข แสดงว่ามนุษย์ยุคนั้นรู้จักเลี้ยงสัตว์แล้ว ลักษณะการแต่งกายของมนุษย์ยุคนั้นดูคล้ายกับจะเปลือยท่อนบน ส่วนท่อนล่างสันนิษฐานว่าจะใช้หนังสัตว์ หรือผ้าหยาบ ๆ ร้อยเชือกผูกไว้รอบ ๆ สะโพก บนศีรษะ  ประดับด้วยขนนก

จากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบบริเวณถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอนอายุประมาณ 7,000 – 8,000 ปีมาแล้ว พบว่ามีการตกแต่งด้วยรอยเชือกและรอยตาข่ายทาบ ทำให้สันนิษฐานว่า มนุษย์น่าจะรู้จักทำเชือกและตาข่ายก่อน โดยนำพืชที่มีใยมาฟั่นให้เป็นเชือก แล้วนำเชือกมาผูกหรือถักเป็นตาข่าย จากการถักก็พัฒนาขึ้นมาเป็นการทอด้วยเทคนิคง่าย ๆ แบบการจักสาน คือ  นำเชือกมาผูกกับไม้หรือยึดไว้ให้ด้ายเส้นยืน แล้วนำเลือกอีกเส้นหนึ่งมาพุ่งขัดกับด้ายเส้นยืนเกิดเป็นผืนผ้าหยาบ ๆ ขึ้น เหมือนกับการขัดกระดาษหรือการจักสาน เกิดเป็นผ้ากระสอบแบบหยาบ ๆ

พบหลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีที่บริเวณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เช่น พบกำไล สำริด ซึ่งมีสนิม และมีเศษผ้าติดอยู่กับคราบสนิมนั้น นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า สนิมเป็นตัวกัดกร่อนโลหะซึ่งเป็นอนินทรียวัตถุแต่กลับเป็นตัวอนุรักษ์ผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุไว้ไม่ให้เสื่อมสลาย ที่แหล่งบ้านเชียงนี้ ยังพบแวดินเผา ซึ่งเป็นอุปกรณ์การปั่นด้ายแบบง่าย ๆ และพบลูกกลิ้งแกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบนผ้าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พอจะสันนิษฐานได้ว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านเชียงเมื่อ 2,000 – 4,000 ปีมาแล้ว รู้จักการปั่นด้าย ทอผ้า ย้อมสีและพิมพ์ลวดลายลงบนผ้าอีกด้วย

วัตถุดิบในการทอผ้า

                วัตถุดิบสำหรับการทอผ้านั้นมีการพัฒนากันขึ้นมาเป็นลำดับ  แต่พอสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดี ีที่พบในประเทศไทยได้ว่า ในสมัยโบราณมนุษย์คงจะได้แสวงหาพืชในท้องถิ่นที่มีเส้นใยแข็งแรง เช่น ปอ ป่าน กัญชา กล้วย สับปะรด มาปั่นเป็นเกลียวเชือกใช้ก่อน ต่อมาจึงนำเชือกมาถักทอเป็นตาข่ายและเป็นผืนผ้าเป็นลำดับ  เศษใยผ้าที่พบที่บ้านเชียง  เชื่อว่าเป็นเศษใยกัญชา การใช้เส้นใยพืชเป็นวัตถุดิบในการทอผ้านี้ มีผู้คนบางท้องถิ่นในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ทำใช้กันอยู่บ้างในปัจจุบัน เช่น ในภาคเหนือของประเทศไทยและในสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็มีการทำผ้าจากใยของป่านกัญชา ซึ่งมีลักษณะเหมือนผ้าลินินอย่างหยาบ ๆ ในโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ก็มีการทอผ้าจากใยของต้นกล้วย ในเบอร์เนียวและฟิลิปปินส์ยังใช้ใยสับปะรดทอผ้าใช้กันอยู่ ผ้าป่านใยสับปะรดของฟิลิปปินส์ได้มีการพัฒนาเทคนิคการฟอก จนกลายเป็นผ้าป่านแก้วที่ทนทานสวยงามและราคาแพง นิยมใช้กันในสังคมชั้นสูงของฟิลิปปินส์จนถึงทุกวันนี้

                วัตถุดิบอื่น ๆ ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้า ได้แก่ ไหม ฝ้าย และขนสัตว์นั้น นักวิชาการเชื่อว่าไหมมีต้นกำเนิดมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วนำไปเผยแพร่ในญี่ปุ่น อินเดีย รวมทั้งดินแดนต่าง ๆ ในเอเชีย และยุโรป ส่วนฝ้ายเชื่อกันว่ามาจากอาหรับและเผยแพร่เข้ามาใช้กันอย่างกว้างขวางในอินเดียก่อน จึงเข้ามาในแถบประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงภายหลัง จนกลายเป็นพืชพื้นเมืองในแถบนี้ไป สำหรับขนสัตว์เป็นวัสดุที่เหมาะกับอากาศหนาว เชื่อว่านำมาใช้ทำผ้าในยุโรปตอนเหนือก่อน แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ดินแดนอื่น ๆ

                วัตถุดิบที่ใช้ย้อมสีผ้านั้น เชื่อกันว่าคนโบราณรู้จักนำพืชสมุนไพรและเปลือกไม้ที่มีอยู่มากมายในท้องถิ่นของเรามาใช้ย้อมผ้า และทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ที่สืบทอดและค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้สีธรรมชาติจากพืชมาย้อมผ้ากันอยู่ เช่น นางแสงดา บัณสิทธิ์ ที่บ้านไร่ไผ่งาม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ศิลปินแห่งชาติด้านการย้อมสีธรรมชาติและทอผ้าแบบล้านนาเดิม ในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสุรินทร์ ก็ยังมีการย้อมผ้าด้วยพืชพื้นบ้านกันในหลายๆ อำเภอ เป็นต้น พืชพื้นบ้านเหล่านี้ สามารถนำเอาดอก ใบ เปลือกไม้ และเมล็ด มาต้มเคี่ยวให้เกิดเป็นสีเข้มขึ้น แล้วนำน้ำสีมาย้อมผ้า เช่น ย้อมรากยอได้สีแดง ย้อมครามได้สีน้ำเงิน ย้อมมะเกลือได้สีดำ ย้อมขมิ้นชันหรือแก่นขนุนได้สีเหลือง ย้อมลูกสมอ ใบหูกวาง เปลือกมะกรูดได้สีเขียว ย้อมลูกหว้าได้สีม่วง ย้อมเปลือกไม้โกงกางได้สีน้ำตาล เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

                อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำคัญในการทอคือเครื่องทอ ซึ่งคนไทยพื้นบ้านในภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอีสาน เรียกกันว่า กี่ หรือ หูก ภาคใต้เรียกว่า เก กี่หรือหูก พัฒนาขึ้นมาจากหลักการเบื้องต้นที่ต้องการให้มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืนกับด้ายเส้นพุ่ง เป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะให้เกิดเป็นผืนผ้าขึ้น ด้ายเส้นยืน (บางแห่งก็เรียกเส้นเครือ) จะมีจำนวนกี่เส้นหรือมีความยาวเท่าใดก็ตาม จะต้องขึงให้ตึงและยึดอยู่กับที่  ในขณะที่ด้ายเส้นพุ่งจะต้องพันร้อยอยู่กับเครื่องพุ่ง เรียกว่า กระสวย สำหรับใช้พุ่งด้ายเข้าไปขัดกับด้ายเส้นยืนทุกเส้น และพุ่งกลับไปกลับมาจนเกิดเป็นเนื้อผ้าตามลวดลายและขนาดตามที่ต้องการ

                เครื่องมือทอผ้าที่ง่ายและมีลักษณะธรรมชาติที่สุดในโลกเห็นจะได้แก่ การผูกด้ายเส้นยืนเข้ากับนิ้วมือข้างหนึ่ง และใช้นิ้วมืออีกข้างหนึ่งพุ่งด้ายเข้าไปถักทอ โดยอาจใช้เข็มหรือกระดูกช่วย วิธีนี้ใช้กันอยู่ในหมู่ชาวอินเดียนแดงในสหรัฐอเมริกา การทอแบบนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ฟิงเกอร์ วีบวิ่ง (finger weaving) หรือทอด้วยนิ้ว ผ้าที่ได้จะมีลักษณะแคบและยาว เช่น ผ้าคาดเอว
แต่สามารถนำมาเย็บต่อเป็นเสื้อผ้าได้ เป็นต้น

                ในปัจจุบันนี้ ชาวบ้านในประเทศไทยที่ทอผ้าใช้เองหรือทอขายเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน
ต่างนิยมใช้กี่ที่ปรับปรุงให้ทอผ้าได้ง่ายและสะดวกขึ้นกี่ที่ใช้กันอยู่จึงมีโครงไม้ที่แข็งแรง มีที่นั่งห้อยเท้า บางแห่งใช้กี่แบบพื้นบ้านโบราณที่มีโครงไม้ขนาดเล็ก เรียกว่า “ฟืมเล็ก”

ต่อมาในปี พ.ศ.2478 กระทรวงกลาโหม ได้ตั้งโรงงานทอผ้า สำหรับใช้ในราชการทหารขึ้น เรียกว่า “โรงงานฝ้ายสยาม” เพื่อผลิตเสื้อผ้าและสำลีสำหรับทหาร มีการสั่งเครื่องจักรทอผ้าและฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการทอผ้าด้วยเครื่องจักรสามารถผลิตผ้าได้จำนวนมาก และไม่ต้องมีลวดลายตามแบบผ้าพื้นบ้าน

การทอผ้าแบบพื้นบ้าน พื้นเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ

                ในปัจจุบันการทอผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองหลายแห่งยังทอลวดลาย สัญลักษณ์ดั้งเดิม โดยเฉพาะในชุมชนที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์บางกลุ่มที่กระจายตัวกันอยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ศิลปะการทอผ้าของกลุ่มชนเหล่านี้จึงนับว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มอยู่จนถึงทุกวันนี้ หากจะแบ่งผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชนเหล่านี้ตามภาคต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ก็อาจจะแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

                1. การทอผ้าในภาคเหนือแถบล้านนาไทย (จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน) โดยเฉพาะในกลุ่ม ชาวไทยโยนกหรือไทยยวน และชาวไทยลื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของล้านนาไทย มีความเชื่อเรื่องการตั้งถิ่นฐานในสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาและมีทางน้ำไหล ผู้หญิงไทยยวนและไทยลื้อในปัจจุบันนี้ยังรักษาวัฒนธรรมการทอผ้าในรูปแบบและลวดลายที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะการทอซิ่นตีนจก ผ้าขิต และผ้าที่ใช้เทคนิค “เกาะ” เป็นต้น

การทอผ้าไหมยกดอกและการทอซิ่นไหมต่อตีนจกยกดิ้นเงินดิ้นทองนั้น รู้จักกันในหมู่เจ้านายชั้นสูงในภาคเหนือ ซึ่งได้ฝึกอบรมให้หญิงชาวบ้านตามหมู่บ้านหลายแห่ง เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน รู้จักทอจนทำกันเป็นอุตสาหกรรมในหมู่บ้านหลายแห่งจนถึงทุกวันนี้

                2. การทอผ้าในภาคกลาง ในภาคกลางตอนบน (จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ และสุโขทัย) และภาคกลางตอนล่าง (จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี สระบุรี ลพบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ) มีกลุ่มชนชาวไทยยวนและชาวไทยลาว อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ไทย พวกไทยลาวนั้นมีหลายเผ่า เช่น พวน โซ่ง ผู้ไท ครั่ง ซึ่งอพยพย้ายถิ่นเข้ามาเพราะสงครามหรือสาเหตุอื่น ๆ คนไทย พวกนี้ยังรักษาวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นไว้ได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการทอผ้าของผู้หญิงที่ใช้เทคนิคการทำตีนจก และขิต เพื่อตกแต่งเป็นลวดลายบนผ้าที่ใช้นุ่งในเทศกาลต่าง ๆ หรือใช้ทำที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวม้า เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปมาก คนไทยเหล่านี้ก็ยังยึดอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพรองต่อ จากการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก และเช่นเดียวกันกับผ้าในภาคเหนือ ลวดลายที่ตกแต่งบนผืนผ้าที่ทอโดยกลุ่มชนต่างเผ่ากันในภาคกลางนี้ก็มีลักษณะและสีสันแตกต่าง กันจนผู้ที่ศึกษาคุ้นเคยสามารถจะระบุแหล่งที่ผลิตผ้าได้จากลวดลายและสี

                3. การทอผ้าในภาคอีสาน ในภาคอีสานมีชุมชนตั้งถิ่นฐานโดยอาศัยบริเวณที่มีความ
อุดมสมบูรณ์จากลำห้วย หนอง บึง แม่น้ำ กลุ่มคนไทย เชื้อสายลาวเป็นชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน กระจายกันอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ มีวัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็นประเพณีของผู้หญิงที่สืบทอดกันมาช้านานเกือบทุกชุมชน แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่ามีลักษณะและลวดลายการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าขิต และผ้าไหมหางกระรอก

                4. การทอผ้าในภาคใต้ ภาคใต้มีแหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยเฉพาะแหล่งทอผ้ายกดิ้นเงินดิ้นทอง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิม ชาวอาหรับ ที่มาค้าขายตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมาผ้ายกเงินยกทองได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงของอาณาจักรไทยในภาคกลาง
บรรดาพวกเจ้าเมืองและข้าราชการหัวเมืองภาคใต้จึงต่างสนับสนุนให้ลูกหลานและชาวบ้านทอกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา และที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ล้วนเคยเป็นแหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่กล่าวขวัญและนิยมกันมากในหมู่ขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันผ้ายกเมืองนคร มีผู้บริจาคให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช และจัดแสดงให้ประชาชนชมอยู่ในห้องผ้าของพิพิธภัณฑ์จำนวนมาก แต่ช่างทอที่มีชื่อเสียงเสียชีวิตไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และมีผู้สืบทอดความรู้ไว้น้อยมาก จึงไม่มีการทอกันเป็นล่ำเป็นสันเหมือนสมัยโบราณ

โครงการสัมมนา

                                                                               โครงการสัมมนา

ชื่อโครงการ
             แปลงโฉมผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นทันสมัยระดับโลก

หลักการและเหตุผล
              ตามที่วิชาสัมมนาทิศทางและแนวโน้มทางสารสนเทศศาสตร์  มีความประสงค์ให้นิสิตมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดสัมมนา  จัดประชุม อภิปรายในหัวข้อต่างๆ โดยให้นิสิตจัดทำข้อมูลสารสนเทศลงในเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้น ปรับปรุงรูปแบบและข้อมูลให้ครบถ้วน ทันสมัย  พร้อมกับให้นิสิตจัดทำสารสนเทศให้อยู่ในรูปแบบคลังคำ เพื่อสะดวกในการค้นหา
              โครงการสัมมนาแปลงโฉมผ้าไทยสู่เวทีแฟชั่นทันสมัยระดับโลก จึงเป็นโครงการพัฒนาให้นิสิตมีความรู้  ประสบการณ์ และทักษะการจัดสัมมนา  เพื่อให้นิสิตนำทักษะนี้ไปใช้ในสังคมแห่งการทำงาน เป็นประสบการณ์ก่อนปฏิบัติจริง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
              1.  เพื่อให้นิสิตมีความรู้และประสบการณ์การจัดงานสัมมนา
              2.  เพื่อให้นิสิตสามารถจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่
              3. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผ้าไทยและอัญมณีไทย

เป้าหมาย
              1.  นิสิตสามารถจัดงานสัมมนาและเป็นผู้นำสัมมนาได้
              2.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา 
 
วิธีดำเนินการ
              1.  บรรยาย
              2.  อภิปราย

ผู้รับผิดชอบโครงการ
              น.ส. มลฤดี  สินสุพรรณ์ 
              น.ส. สิริพร  ยอดทอง
              น.ส. สุริวัสสา กล่อมเดช

การประเมินผล
              1.  ตอบคำถาม

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
              1.  นิสิตสามารถจัดสัมมนาในหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายได้
              2.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานหัตถกรรมไทย
              3.  ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบข้อมูลการประยุกต์ผ้าไทยให้ทันสมัย
              4.  สร้างจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาอนุรักษ์และสืบสานงานหัตถกรรมไทย